ตอนนี้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบทักษะศตวรรษที่ 21 กำลังมาแรงมากครับ
เราทราบดีแล้วครับว่าความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปนี้ มันมากมายเกินกว่าที่ครูคนเดียวจะแบกมันไว้แล้วเอามาสอนเด็ก เด็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องรู้ทั้งหมดครับ แต่เด็ก ๆ ควรได้เรียนรู้ในสิ่งที่พวกเขาสนใจแบบเต็ม ๆ มากกว่า
อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าเป็นคลังความรู้ที่กว้างที่สุด หลากหลายที่สุด และสามารถตอบสนองต่อความต้องการอยากรู้ของเด็ก ๆ ได้มากที่สุด และที่สำคัญคือมันสะดวกที่สุด ณ เวลานี้ครับ แต่ด้วยข้อจำกัดของโรงเรียนขนาดเล็ก ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้นของพวกเราไม่เพียงพอ หลายครั้งเราได้แต่นั่งดูหน้าจอดำ ๆ อยู่ข้าง ๆ เคสเก่า ๆ ที่รอซ่อม บ้างก็ติดไวรัสรอลงวินโดว์ใหม่ เป็นภาพชินตาสำหรับเด็ก ๆ ของเรา
ผมเคยลองให้นักเรียนใช้โทรศัพท์มือถือในการช่วยสืบค้น ก็ช่วยให้ได้คำตอบอยู่บ้างในการค้นคว้า แต่งานนำเสนอแบบดิจิทัล ก็ยังไม่อาจทำได้สะดวกนัก
โรงเรียนเคยพยายามมองหาช่องทางอื่น ๆ ในราคาประหยัดเพื่อให้เด็ก ๆ ได้ใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานในการสืบค้นและนำผลงานนั้นมานำเสนอได้ จนวันนึงได้ทดลองใช้ True IDC Chrome Book
– – – – – – –
ผมแบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ตามจำนวนเครื่อง การเรียนวันนี้จะเป็นการแบ่งกลุ่มให้นักเรียนศึกษาและนำความรู้จากการศึกษามานำเสนอเพื่อนหน้าชั้นเรียนต่อไป
“เห้ย มันเร็วมากครับครู” เจ้าเสือ นักเรียนชั้น ม.3/2 อุทานขึ้นเมื่อเปิด chrome book ขึ้นมา
“แต่ทำไมไม่มีโปรแกรมอะไรเลยครับ” นักเรียนบางคนสงสัย ในขณะที่บางคนก็ไม่สนใจ คลิกเข้าไปใช้งาน web browser ของ Google Chrome ทันที
ถ้าจะรีวิวให้ฟังก็คงเป็นแบบบ้าน ๆ ตามประสาครูภาษาไทยอ่อนไอทีนะครับ เท่าที่ผมทราบคือGoogle Chrome ใช้ระบบปฏิบัติการแบบ Chrome OS คือถึงแม้จะไม่ใช่ระบบปฏิบัติการแบบ Windows ที่เราคุ้นเคย แต่การใช้งานผ่าน Web Browser ของ Google Chrome มานานก็สามารถทำให้เราใช้งานกันได้แบบไม่ต้องปรับตัวมากนัก
ผมแบ่งหัวข้อให้เด็ก ๆ ตามกลุ่มเป็นสี่หัวข้อ โดยให้งานผ่าน Google Classroom (จริง ๆ แล้วจะเขียนงานบนกระดานไว้ให้ก็ได้ แต่วิธีการนี้ช่วยเพิ่มความตื่นเต้นให้แก่เด็ก ๆ ได้พอสมควรครับ) โดยให้สืบค้นเรื่อง คำขวัญ คำคม สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย โดยอภิปรายร่วมกันในกลุ่มก่อนจะนำเสนอในรูปแบบ Slide หน้าชั้นเรียน
เด็ก ๆ ได้รับ Google account จากครูคอมพิวเตอร์มาเรียบร้อย ผมเพียงแต่ให้รหัสเข้าห้องก็จะสามารถเข้าถึงชั้นเรียนได้
ในส่วน Google Classroom ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผมได้อย่างมาก ช่วงที่ผมต้องลากิจไปเฝ้าคุณพ่อที่โรงพยาบาล เพราะสามารถสอน ให้งาน และตรวจงานผ่านทาง Google Classroom ได้เลย (อาจจะต้องใช้กลุ่มเฟซบุ๊กเป็นตัวช่วยในการแจ้งเตือนด้วยนะครับ
เมื่อได้สืบค้นข้อมูลด้วยตนเองแล้ว เด็ก ๆ ก็ลงมือจัดระเบียบความรู้ลงใน Slide เพื่อนำเสนอ โดยโปรแกรม Slide เป็น App ที่มีอยู่ใน Google Doc เปรียบง่าย ๆ กับ โปรแกรม Microsoft office ที่เราใช้งานกันอยู่เป็นประจำ แถมหน้าตายังคล้ายคลึงกันมากอีกด้วย
ความสนุกในการเรียนวันนี้ คือการที่นักเรียนได้สืบค้นด้วยตนเองและนำเสนอให้เพื่อน ๆ ได้ง่าย ๆ ในชั้นเรียน ไม่ต้องเสียบแฟลชไดร์ ไม่ต้องเสี่ยงไวรัส (ระบบ Chrome OS เคลมมาเลยว่าไม่มีไวรัสครับ)
ส่วนข้อดีของ Chrome Book ที่มองว่าเป็นประสบการณ์ใหม่เลยคือ การที่คอมพิวเตอร์ทำงานได้ไวขึ้น (เพราะไม่ต้องโหลดข้อมูลในเครื่อง) การใช้งานผ่าน Google App และ Google Classroom มีความสะดวกในระดับที่ไม่แตกต่างจากการใช้โปรแกรมเดิม ๆ และงานที่ทำไว้ยังสามารถติดตามไปได้ทุกที่ สามารถเปิดใช้งานได้เมื่อมีอินเทอร์เน็ต (สามารถโหลด App ลงเครื่องไว้ใช้งาน offline ได้ครับ) ที่สำคัญคือแบตทนมากครับ (สามารถใช้งานได้นาน 11 ชั่วโมง) เวลาทำงานกลุ่ม จะยกส่งต่อข้ามกันไปมาได้สะดวกแบบไม่ต้องเกรงใจสายไฟครับ
โดยรวมแล้วผมมองว่าเจ้า Chrome book สามารถตอบโจทย์การใช้งานโดยเฉพาะการเรียนการสอนได้ดีมาก ไม่จำเป็นต้องลงทุนใช้คอมพิวเตอร์ที่ราคาสูงกว่า สามารถอัพเดทโปรแกรมและ app ต่าง ๆ ได้โดยตรงจาก google ตัดปัญหาเดิม ๆ ที่เราเคยเจออย่างการอัพเดทโปรแกรมและไวรัสครับ ทั้งนี้สิ่งที่เรากังวลคือหากไม่มีอินเทอร์เน็ตแล้วประสิทธิภาพของเครื่องก็จะลดลง สำหรับการใช้งานในโรงเรียนผมค่อนข้างโอเคครับ เพราะมีสัญญาณ wifi ให้บริการตลอด และอย่างที่บอกไว้ ว่าสามารถโหลด app ลงเครื่องไว้เล่น offline ได้อีกเยอะแยะครับ
แค่ทำให้พวกตัวแสบสนใจการเรียนขึ้นมานิดนึงได้ ถือว่าประสบความสำเร็จแล้วล่ะครับ ^^